ความรู้เกี่ยวกับหนู
หนู เป็นสัตว์ฟันแทะประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม มีลักษณะเด่นชัดคือมีฟันคู่หน้าทั้งบนและล่าง 2 คู่ ที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษและคมมีลักษณะโค้งยื่น เพื่อใช้สำหรับกัดหรือแทะสิ่งต่างๆ เพื่อให้ฟันหน้าซึ่งสามารถเจริญยาวได้ตลอดชีวิตของมัน มีขนาดสั้นพอเหมาะและคมอยู่เสมอหนู มีความสำคัญ ทั้งทางด้านสาธารณสุข และการเกษตรทั้งนี้ เพราะหนูเป็นสัตว์แทะ ที่มีคุณสมบัติ ทางด้านชีววิทยาในการแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมสภาพต่างๆ ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี ลักษณะนิสัยของ หนู ชอบการกัดทำลายวัสดุ สิ่งของเครื่องใช้และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นประจำ เช่น ตู้ โต๊ะ เพดานบ้าน สายไฟ สายโทรศัพท์ สายคอมพิวเตอร์ ท่อน้ำ ผ้าม่าน สบู่ เครื่องประดับต่างๆ ตามถนน คันคูน้ำ คันนา หนู ก็จะขุดรูอาศัย เป็นผลให้เกิดการชำรุดเสียหายจนใช้การไม่ได้ ทำให้ต้องเสียเงินซ่อมแซมอยู่เสมอ
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตหนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความสามารถในการผสมพันธุ์ และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก จากการศึกษาสำรวจพบว่า พวกหนูนอร์เว และหนูท้องขาวสามารถมีลูกได้ครั้งแรกอายุประมาณ 3 – 5 เดือน เมื่อผสมแล้วจะตั้งท้องเพียง 21 – 22 วัน สำหรับหนูมีลูกติดๆ กันไม่หยุดในท้องหลังๆ อาจตั้งท้องนาน 23 – 29 วัน ส่วนในหนูหริ่งนั้น หลังผสมพันธุ์อาจตั้งท้องประมาณ 19 วัน ภายใน 48 ชั่วโมง หลังคลอด ความยืนยาวของชีวิตหนูแต่ละชนิดไม่เท่ากน แต่ไม่แตกต่างกันมากนักเช่น หนูท้องขาวอาจจะมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี
ในประเทศไทยหนูที่พบในเขตเมืองหรือแหล่งชุมชนต่างๆดังนี้
เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในสกุลนี้มีน้ำหนักตัวประมาณ 200-500 กรัม กินอาหารได้ทุกประเภท หากมีอาหารสมบูรณ์จะทำให้หนูชนิดนี้มีขนาดลำตัวใกล้เคียงหนูพุก หนูชนิดนี้ชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำและมีชื่อเรียกขานหลายชื่อตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งที่ออกหากินเช่น หนูท่อ หนูขยะ หนูท่าเรือและหนูเลาเป็นต้นปกติชอบขุดรูอาศัยในดินใกล้กองขยะใต้ถุนบ้านหรือสนามบ้านที่ปากรูมีขุยดินกองใหญ่คล้ายของหนูนาหรือพบอาศัยในท่อระบายน้ำในแหล่งชุมชนตามตลาดมีความยาวหัวรวมลำตัวประมาณ 233มิลลิเมตรหางสั้นกว่าความยาวหัวรวมลำตัวยาว 201 มิลลิเมตรและมี 2 สีด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่างหน้าจะป้านหรือทู่กว่าหนูท้องขาวบ้านมีตาและใบหูเล็กกว่าเช่นกันขนด้านท้องสีเทาด้านหลังขนสีน้ำตาลหรือสีดำตีนหลังใหญ่ขนาด 44 มิลลิเมตรและมีขนขาวตลอดเพศเมียมีเต้านม 3 คู่ที่อกและ 3 คู่ที่ท้องพบทั่วประเทศในเขตเทศบาลเมืองทุกแห่งอาจพบในพื้นที่ทำการเกษตรที่ติดต่อกับเขตชุมชนใหญ่ๆเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญหลายชนิดสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง พฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ของหนูนอร์เวเป็นแบบ pecking order โดยหนูเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงเป็นจ่าฝูงจึงเลือกที่อยู่และกินอาหารที่ดีที่สุดได้ก่อนและกำหนดเขตถิ่นอยู่อาศัยโดยใช้ปัสสาวะและไขมันจากขนในแต่ละกลุ่มจะมีหนูเพศเมียมากกว่า 1 ตัวลูกหนูและอาจมีหนูเพศผู้ตัวอื่นๆที่อ่อนแอกว่าเป็นหนูที่มีนิสัยดุร้ายและก้าวร้าวโดยเฉพาะเวลาที่แย่งถิ่นอาศัยอาหารและหนูเพศเมียปกติแล้วหนูที่โตเต็มที่จะกินอาหาร 20-30 กรัมต่อคืน (ประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว) และสามารถเดินทางในแต่ละคืนเป็นระยะทางไกล 2-3 กิโลเมตรเพื่อหาอาหาร
หนูชนิดนี้มีความหลากหลายในเรื่องของสีขนซึ่งขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่พบและมีชื่อเรียกต่างๆตามแหล่งที่อยู่อาศัยเช่นหนูหลังคาหนูเรือหนูบ้านและหนูสวนเป็นต้นตัวเต็มวัยมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง90-250 กรัมความยาวหัวรวมลำตัวเท่ากับ 182 มิลลิเมตรปกติสีขนด้านหลังเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองและกลางหลังมีขนแข็งสีดำแทรกอยู่ขนด้านท้องสีขาวครีมบางครั้งมีแถบขนสีน้ำตาลคล้ำยาวจากส่วนคอถึงกลางอกขนบริเวณตีนหลังส่วนใหญ่ยาวและมีขนดำแทรกปะปนบ้างหางสีดำตลอดมีเกล็ดละเอียดเล็กๆและยาวมากกว่าความยาวหัวรวมลำตัวยาว 188 มิลลิเมตรจมูกแหลมจึงทำให้หน้าค่อนข้างแหลมด้วยใบหูใหญ่ตาโตเพศเมียมีเต้านม 2 คู่ที่อกและ 3 คู่ที่ท้อง (ในบางแห่งเพศเมียมีเต้านม 3 คู่แต่คู่ที่ 3 อยู่ชิดกับคู่ที่ 2หรือห่างกันน้อยกว่า 1 เซนติเมตร) ปีนป่ายเก่งมากพบได้ทั่วประเทศตามเพดานของอาคารบ้านเรือนยุ้งฉางนาข้าวในสวนผลไม้มะพร้าวปาล์มน้ำมันเป็นต้นปกติไม่ชอบขุดรูอาศัยในดินมักอาศัยอยู่บนต้นไม้บนที่สูงหรือใต้หลังคาในห้องต่างๆของอาคารแต่ถ้าขุดรูมักไม่พบขุยดินบริเวณปากรูทางเข้าหรือมีขุยดินน้อยมากชอบกินผลไม้ผักและเมล็ดพืชมากกว่าเนื้อสัตว์พฤติกรรมการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มพบในหนูชนิดนี้เช่นเดียวกันกับหนูนอร์เวแต่มีจำนวนสมาชิกน้อยกว่าจ่าฝูงมักเป็นเพศผู้หนูชนิดนี้มีรูปร่างที่เพรียวกว่าหนูนอร์เวและชอบอาศัยอยู่ในที่สูงเช่นใต้หลังคาบ้านตามขื่อและคานของโรงเก็บอาหารสำเร็จรูปต่างๆบนต้นไม้เป็นต้นในขณะที่หนูนอร์เวชอบอาศัยใต้อาคารหรือขุดรูอยู่บริเวณนอกบ้านหนูชนิดนี้มีความดุร้ายก้าวร้าวน้อยกว่าหนูนอร์เวปกติแล้วมักละการต่อสู้ด้วยการวิ่งหนีจากไปหรือย้ายแหล่งที่อยู่
เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลRattus มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 27-60 กรัมความยาวหัวรวมลำตัวเท่ากับ 115 มิลลิเมตรตาโตใบหูใหญ่ตีนหลังยาว 23 มิลลิเมตรหางยาวกว่าความยาวหัวรวมลำตัวมากยาว 128 มิลลิเมตรและมีสีเดียวตลอดขนด้านหลังมีสีน้ำตาลแก่ขนด้านท้องสีเทาเพศเมียมีเต้านม 2 คู่ที่อกและ 2 คู่ที่ท้องหนูชนิดนี้ปีนป่ายได้ดีและว่องไวมากชอบอาศัยในที่แห้งตามบ้านเรือนโดยเฉพาะในห้องครัวห้องเก็บของตู้ลิ้นชักและยุ้งฉางทั่วประเทศกรณีที่พบในหมู่บ้านที่ติดกับพื้นที่ทำการเกษตรอาจพบหนูจี๊ดทำลายพืชในไร่นาสวนมะพร้าวสวนผลไม้แปลงถั่วต่างๆเช่นถั่วมะคาเดเมียฯลฯเช่นเดียวกันกับหนูนอร์เวหนูชนิดนี้กินอาหารได้เกือบทุกประเภท
ในประเทศไทยหนูชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าหนูหริ่งบ้านที่พบในยุโรปแต่สีขนคล้ายกันคือสีขนด้านบนและด้านท้องคล้ำขนบนหลังเท้าดำยกเว้นปลายเล็บเท้าขาวสีหางมีสีเดียวฟันเล็กหน้าสั้นมีน้ำหนักตัวประมาณ 12 กรัมความยาวหัวรวมลำตัว 74 มิลลิเมตรหางยาว 79 มิลลิเมตรตีนหลังยาว16 มิลลิเมตรใบหูยาว 12 มิลลิเมตรเพศเมียมีเต้านม 3 คู่ที่อกและ 2 คู่ที่ท้องเป็นหนูที่ตกใจได้ง่ายและออกอาหารในเวลากลางคืนเช่นกันชอบอาศัยในที่มืดตามลิ้นชักตู้หรือตามท่อเสาที่มีรูเปิดและไม่กลัวสิ่งใหม่ๆเมื่อสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงหนูชนิดนี้จะออกสำรวจสภาพแวดล้อมใหม่ทุกวัน