วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2567
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2567
น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ (Peppermint oil)
น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ (Peppermint oil)
“น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ได้มาจากการนำใบสะระแหน่มาผ่านการกลั่นด้วยไอน้ำ ทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยใสที่มีกลิ่นเย็นสดชื่น สารสำคัญที่พบในน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้คือ สารเมนทอล (Menthol) จากการทดสอบฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในมนุษย์และเชื้อแบคทีเรียที่พบในอาหารได้ ช่วยลดเชื้อแบคทีเรียบนพื้นผิวที่ใช้ในการแปรรูปอาหารได้ รวมถึงสามารถใช้ในการลดแบคทีเรียที่พบบนมือของมนุษย์ได้ จึงทำให้น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในรูปแบบสเปรย์ ฟิล์ม หรือผสมในบรรจุภัณฑ์ได้”
สะระแหน่ (Peppermint/Mint)
เป็นพืชสมุนไพรตามธรรมชาติที่มีการนำใบและน้ำมันมาใช้ประโยชน์ต่อสุขภาพมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังใช้เป็นยาพื้นบ้านสำหรับรักษาโรคและอาการต่าง ๆ เช่น บรรเทาอาการปวด ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร หรือใช้เป็นสารต้านเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้หลายคนอาจคุ้นเคยกับรสหรือกลิ่นของสะระแหน่จากยาสีฟัน ขนม อาหารจานต่าง ๆ รวมถึงใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในสบู่และเครื่องสำอางอีกด้วย
สะระแหน่อุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ มากมาย เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม โฟลิค วิตามินซี วิตามินเอ เป็นต้น และในน้ำมันสะระแหน่ยังมีเมนทอล (Menthol) และเมนโทน (Menthone) เป็นส่วนประกอบหลักอีกด้วย นอกจากนี้ ประโยชน์อื่น ๆ ของสะระแหน่ที่ถูกกล่าวถึงและนำมาใช้ในทางการแพทย์ยังมีอีกมากมาย โดยที่หลายคนเชื่อว่าการรับประทานสะระแหน่อาจช่วยบรรเทาอาการหวัด อาการไอ การอักเสบของปากและลำคอ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ลำไส้แปรปรวน รวมถึงน้ำมันสะระแหน่ยังนำไปใช้ทาที่ผิวหนังเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ รักษาอาการแพ้ ผื่นคัน หรือแม้กระทั่งใช้ไล่ยุงและแมลงต่าง ๆ แต่ข้อพิสูจน์หรือหลักฐานทางการแพทย์มีมากน้อยเพียงใดที่จะช่วยยืนยันสรรพคุณ ประโยชน์ และความปลอดภัยของการรับประทานสะระแหน่ น้ำมันสะระแหน่ หรือการใช้น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ที่มีบทบาทหรือส่วนช่วยในการรักษาโรคเหล่านี้
การรักษาด้วยสะระแหน่ที่อาจได้ผล
ลำไส้แปรปรวน สะระแหน่ได้ชื่อว่าเป็นยาแก้ปวดเกร็งท้องจากธรรมชาติ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยคลายตัวให้กล้ามเนื้อในลำไส้และอาจช่วยบรรเทาอาการของลำไส้แปรปรวนได้ในระยะสั้น ๆ โดยมีการทดลองทางคลินิกชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันสะระแหน่ในการรักษาอาการของโรคลำไส้แปรปรวน โดยสุ่มให้ผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 72 คนที่มีอายุเฉลี่ย 40 ปี รับประทานน้ำมันสะระแหน่หรือยาหลอกวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่รับประทานน้ำมันสะระแหน่มีอาการดีขึ้นในหลายด้านเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก รวมถึงความรุนแรงของอาการก็บรรเทาลง มีความปลอดภัย ทนต่ออาการข้างเคียงได้ดี และมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการของโรคลำไส้แปรปรวนได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันสะระแหน่ชนิดแตกตัวในลำไส้ (Enteric-Coated) ต่อโรคลำไส้แปรปรวน โดยสุ่มให้ผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 90 คนรับประทานน้ำมันสะระแหน่ชนิดแตกตัวในลำไส้ 1 แคปซูลหรือยาหลอกวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีการประเมินและติดตามผลในสัปดาห์ที่ 1, 4 และ 8 พบว่าความรุนแรงของอาการปวดท้องลดลงและไม่พบผลข้างเคียงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก จึงอาจกล่าวได้ว่าน้ำมันสะระแหน่ชนิดแตกตัวในลำไส้มีความปลอดภัยในการนำไปใช้และมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดท้องและไม่สบายตัวจากโรคลำไส้แปรปรวน
ถึงแม้ว่าการศึกษา 2 ชิ้นข้างต้นจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของน้ำมันสะระแหน่ในการบรรเทาอาการของโรคลำไส้แปรปรวน แต่มีการศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นถึงผลการทดลองที่ต่างออกไป โดยให้ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน 65 คน ที่กำลังมีอาการถ่ายเหลว รับประทานน้ำมันสะระแหน่วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่ามีเพียงอาการปวดท้องที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก แต่หลังจากสิ้นสุดการทดลองไปแล้ว 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยกลับมามีอาการปวดอีกครั้ง รวมถึงอาการอื่น ๆ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการทดลองอาจกล่าวได้ว่าน้ำมันสะระแหน่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้เพียงอย่างเดียว
เจ็บหัวนมในขณะให้นมลูก เกิดจากการดูดหรือกัดซ้ำ ๆ ของทารก เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมลูก และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคนหยุดให้นม ในน้ำมันสะระแหน่จะมีสารเมนทอลซึ่งมีในปริมาณไม่มาก มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการชาและต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งงานวิจัยอ้างว่ามีการใช้น้ำมันสะระแหน่อย่างแพร่หลายสำหรับอาการไหม้ อาการคัน และอาการอักเสบทางผิวหนัง อีกทั้งยังมีความปลอดภัยต่อระบบทางเดินอาหารของทารกเมื่อใช้ในปริมาณเล็กน้อย จากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้น้ำสะระแหน่ในการป้องกันอาการหัวนมแตก โดยสุ่มให้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมลูกและตั้งครรภ์ลูกคนแรกจำนวน 196 คน ใช้น้ำสะระแหน่ทาที่บริเวณหัวนม และมีการติดตามผลในช่วง 14 วันแรกและช่วงสัปดาห์ที่ 6 จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ทาน้ำสะระแหน่เป็นประจำทุกวันมีโอกาสเกิดหัวนมแตกและมีอาการเจ็บน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ทา และอาจกล่าวได้ว่าน้ำสะระแหน่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการเจ็บหัวนม แต่ยังจำเป็นต้องศึกษาต่อไปเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำสะระแหน่ร่วมกับเทคนิคการให้นมลูกที่ถูกวิธี
นอกจากนี้ ยังมีการทดลองเกี่ยวกับการใช้เจลสะระแหน่ในการป้องกันอาการหัวนมแตก โดยสุ่มให้หญิงที่ตั้งครรภ์ลูกคนแรกจำนวน 216 คน ใช้เจลสะระแหน่ ขี้ผึ้งลาโนลิน หรือเจลยาหลอกทาบริเวณหัวนมทั้ง 2 ข้าง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และมีการติดตามผลในช่วง 14 วันแรกและช่วงสัปดาห์ที่ 6 พบว่ากลุ่มที่ใช้เจลสะระแหน่มีอาการหัวนมแตกน้อยกว่าในกลุ่มที่ใช้ขี้ผึ้งลาโนลินและเจลยาหลอก ซึ่งอาจแนะนำให้หญิงที่ตั้งครรภ์ลูกคนแรกและอยู่ในช่วงให้นมใช้เจลสะระแหน่เพื่อป้องกันหัวนมแตก
อาการเกร็งของกล้ ามเนื้อในกระเพาะอาหารขณะส่องกล้อง หากไม่ใช้ยาสลบร่วมด้วยอาจทำให้เกิดการเกร็งหรือบีบตัวของกล้ามเนื้อในกระเพาะอาหาร แพทย์มักใช้ยาแก้ปวดเกร็ง เช่น ยาไฮออสซิน เอ็น บูติลโบรมายด์ (Pyoscine-N-Butylbromide) เพื่อลดอาการดังกล่าว แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งการใช้น้ำมันสะระแหน่มีความปลอดภัยและทำหน้าที่ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในกระเพาะอาหาร จากการทดลองชิ้นหนึ่งได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฉีดยาไฮออสซิน เอ็น บูติลโบรมายด์ทางกล้ามเนื้อและการใช้สารละลายน้ำมันสะระแหน่ขณะส่องกล้อง ในผู้ป่วยจำนวน 100 คน พบว่ากลุ่มที่ใช้น้ำมันสะระแหน่มีอาการเกร็งน้อยกว่าและไม่เกิดผลข้างเคียงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาไฮออสซิน เอ็น บูติลโบรมายด์ จากผลการทดลองอาจกล่าวได้ว่าการใช้สารละลายน้ำมันสะระแหน่ในขณะส่องกล้อง อาจมีประสิทธิภาพลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารได้ดีกว่ายาไฮออสซิน เอ็น บูติลโบรมายด์ และไม่มีผลข้างเคียงที่พบหลังการใช้ที่มีนัยสำคัญแต่อย่างใด
ปวดศีรษะจากความเครียด เป็นการปวดศีรษะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ส่งผลให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่บริเวณศีรษะและลำคอ สามารถรักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่หากอาการไม่ดีขึ้น อาจใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อระงับอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นจากการทาน้ำมันสะระแหน่จะช่วยบรรเทาอาการปวด และช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้บางส่วน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา จากการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันสะระแหน่ต่ออาการปวดศีรษะจากความเครียด โดยสุ่มให้ผู้ป่วยจำนวน 41 คน อายุตั้งแต่ 18-65 ปี รับประทานพาราเซตามอลขนาด 1,000 มิลลิกรัมหรือยาหลอก และใช้น้ำมันสะระแหน่ความเข้มข้น 10% ในสารละลายเอทานอลหรือยาหลอก ทาให้ทั่วบริเวณหน้าผากและทาซ้ำหลังจากเวลาผ่านไป 15 และ 30 นาที โดยตรวจอาการปวดหลังทาน้ำมันสะระแหน่ไปแล้วทุก 15 นาทีจำนวน 4 ครั้ง พบว่าหลังเวลาผ่านไป 15 นาทีผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันสะระแหน่มีอาการปวดศีรษะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของพาราเซตามอลขนาด 1,000 มิลลิกรัมแล้วไม่พบความแตกต่างแต่อย่างใด และไม่พบการรายงานของผลข้างเคียงจากการรักษาอาการปวดศีรษะจากความเครียดด้วยน้ำมันสะระแหน่
การรักษาด้วยสะระแหน่ที่เป็นไปได้ แต่ยังมีหลักฐานสนับสนุนไม่เพียงพอ
กลิ่นปาก เป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยทันตกรรมและอาจส่งผลต่อบุคลิกภาพ มักมีสาเหตุมาจากการสะสมของเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ที่ฟันและลิ้น สุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี หรือผลจากโรคในช่องปาก เช่น เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ หรือต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นต้น ซึ่งการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสะระแหน่อาจมีส่วนช่วยรักษาอาการดังกล่าว จากงานวิจัยทางคลินิกโดยให้นักเรียนหญิงอายุตั้งแต่ 14-18 ปีที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นปาก จำนวน 84 คน กลุ่มหนึ่งใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสะระแหน่ 1% และอีกกลุ่มใช้ยาหลอก โดยที่ทั้ง 2 กลุ่มใช้น้ำยาบ้วนปากปริมาณ 15-20 มิลลิลิตร เป็นเวลา 30 วินาที และงดรับประทานอาหารหลังบ้วนปาก 30 นาที วันละ 3 ครั้งหลัง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากผลการทดลองพบว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสะระแหน่อาจช่วยลดกลิ่นปาก แต่ด้วยระยะเวลาการทดลองเพียง 1 สัปดาห์อาจไม่เพียงพอต่อการสรุปประสิทธิภาพของสะระแหน่ได้ จึงยังจำเป็นต้องศึกษาต่อไปโดยใช้เวลาในการทดลองที่นานขึ้น
อาการคันในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน จะเริ่มมีอาการคันบริเวณท้องในช่วงปลายของไตรมาสที่ 2 จนถึงช่วงต้นของไตรมาสที่ 3 แล้วลุกลามไปที่หน้าอก ปลายแขนและปลายขา บรรเทาได้ด้วยครีมหรือโลชั่นทาผิวที่มีส่วนผสมของเมนทอล แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาหรือสารเคมีดังกล่าวได้ สะระแหน่เป็นพืชสมุนไพรที่มีเมนทอลเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งหลายคนเชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยลดความร้อนทางผิวหนัง รวมถึงบรรเทาอาการคันที่มีสาเหตุมาจากฮีสตามีนซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งในร่างกาย จากการศึกษาทางคลินิกโดยสุ่มให้หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ 3 และมีอาการคันจำนวน 96 คน ทาน้ำมันสะระแหน่ 0.5% ในน้ำมันงาหรือยาหลอก วันละ 2 ครั้งในบริเวณที่มีอาการคัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าน้ำมันสะระแหน่อาจมีประสิทธิภาพในการรักษาและบรรเทาอาการคันในหญิงตั้งครรภ์และไม่ผลข้างเคียง ถึงแม้ว่าผลการทดลองจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของน้ำมันสะระแหน่ แต่หลักฐานสนับสนุนยังไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
อาการปวดประจำเดือน จากการหดตัวของมดลูก รวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยปกติแพทย์อาจใช้ยาในกลุ่มเอ็นเสดเพื่อรักษาอาการปวดประจำเดือน และเมนทอลซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของสะระแหน่ก็อาจมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและต้านการอักเสบด้วยเช่นกัน จากการศึกษาโดยสุ่มให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนหญิงอายุตั้งแต่ 18-25 ปี จำนวน 144 คน กลุ่มหนึ่งรับประทานน้ำมันสะระแหน่ชนิดแคปซูลวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วันหลังมีประจำเดือน และรับประทานเมเฟนามิค แอซิด (Mefenamic Acid) ชนิดแคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วันเมื่อมีประจำเดือนในรอบถัดไป และอีกกลุ่มสลับกันโดยรับประทานเมเฟนามิค แอซิด ชนิดแคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัมทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วันหลังมีประจำเดือน และรับประทานน้ำมันสะระแหน่ชนิดแคปซูลวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วันเมื่อมีประจำเดือนในรอบถัดไป การทดลองนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 2 เดือน พบว่าการรับประทานน้ำมันสะระแหน่ทำให้ระยะเวลาและความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนลดลงเช่นเดียวกับการรับประทานและเมเฟนามิค แอซิด อีกทั้งการรับประทานน้ำมันสะระแหน่ยังพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย รวมถึงเกิดผลข้างเคียงได้น้อยกว่า ถึงแม้ว่าผลการทดลองจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของน้ำมันสะระแหน่ แต่ยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป โดยเพิ่มขนาดของน้ำมันสะระแหน่ หรือรับประทานในช่วงหลังระยะตกไข่ด้วย
การรักษาด้วยสะระแหน่ที่อาจไม่ได้ผล
อาการหลังการผ่าตัด การดมยาสลบก่อนการผ่าตัดอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนหลังการผ่าตัดได้ประมาณร้อยละ 20-30 และการใช้ยาแผนปัจจุบันอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอหรืออาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้สารระเหยที่มีกลิ่นหอมหรืออะโรมาเทอราพี (Aromatherapy) เป็นทางเลือกในการรักษาถึงแม้หลักฐานสนันสนุนประสิทธิภาพของอะโรมาเทอราพีจะยังไม่เพียงพอก็ตาม มีการศึกษา 6 ชิ้นจาก 9 ชิ้นและผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 402 คน โดยให้สูดดมไอระเหยของไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นตัวฆ่าเชื้อทางผิวหนังทั่วไป พบว่าอาจส่งผลให้อาการคลื่นไส้และอาเจียนหลังการผ่าตัดลดลง แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยาจากการรักษาหลัก และปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่เชื่อถือได้จากการนำน้ำมันหอมระเหยของสะระแหน่มาใช้ในการรักษาอาการดังกล่าว
อีกทั้งยังมีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสะระแหน่ต่อการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดแสดงให้เห็นว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์จากสะระแหน่ชนิดหนึ่งวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 5 วันหลังการผ่าตัดไม่ส่งผลให้อาการท้องอืดหรือแสบรอนกลางอกดีขึ้น หรือการรับประทานน้ำมันสะระแหน่แบบแคปซูลไม่ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดหรือปวดท้องหลังการผ่าตัด
ความปลอดภัยในการรับประทานสะระแหน่
การรับประทานสะระแหน่และน้ำมันสะระแหน่โดยทั่วไปแล้วค่อนข้างปลอดภัยหากใช้รับประทานหรือใช้ทาที่บริเวณผิวหนังในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น แสบร้อนกลางอก มีอาการแพ้ หน้าแดง ปวดศีรษะ เป็นแผลในปาก เป็นต้น
ข้อควรระวังในการรับประทานสะระแหน่โดยเฉพาะบุคคลในกลุ่มดังต่อไปนี้
ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการรับประทานสะระแหน่ในรูปแบบอาหารเสริม ยารักษาโรค ในปริมาณที่มากกว่าปกติ จะมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ในระหว่างนี้จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป
ผู้ที่มีภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร (Achlorhydria) ไม่ควรรับประทานน้ำมันสะระแหน่ชนิดแตกตัวในลำไส้เพราะอาจเกิดการแตกตัวก่อนในระหว่างการย่อยอาหาร
ผู้ที่มีอาการท้องเสีย น้ำมันสะระแหน่ชนิดแตกตัวในลำไส้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก
ผู้ที่รับประทานยาเหล่านี้เป็นประจำ เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์หากรับประทานน้ำมันสะระแหน่ร่วมกับการใช้ยาดังต่อไปนี้
ยาที่เปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ที่ตับ (P450) เนื่องจากการรับประทานน้ำมันสะระแหน่อาจลดประสิทธิภาพการทำงานของยาและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานน้ำมันสะระแหน่ร่วมกับยาดังต่อไปนี้
อะมิทริปไทลีน ฮาโลเพอริดอล ออนแดนเซทรอน โพรพราโนลอล ทีโอฟิลลีน เวอราปามิล เป็นต้น
โอเมพราโซล, แลนโซพราโซล, แพนโทพราโซล ไดอะซีแพม เนวฟิรนาเวียร์ เป็นต้น
ไดโคลฟีแนค ไอบูโพรเฟน มีลอกซีแคม ไพร็อกซิแคม เซเลโคซิบ วาร์ฟาริน เป็นต้น
โลวาสแตติน คีโตโคนาโซล ไอทราโคนาโซล เฟกโซเฟนาดีน ไตรอาโซแลม
ยาลดกรด ยายับยั้งการหลั่งกรด เนื่องจากวัสดุที่เคลือบผิวเม็ดน้ำมันสะระแหน่บางชนิดอาจเกิดการแตกตัวก่อนเวลาอันควร ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกหรือคลื่นไส้ ดังนั้น ควรเว้นเวลารับประทานยาลดกรดหรือยายับยั้งการหลั่งกรดอย่างน้อย 2 ชั่วโมงหลังรับประทานน้ำมันสะระแหน่
ความรู้ดีๆจาก : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,POBPAD
การบูร หรือ camphor
เอทานอล Ethanol
เอทานอล (Ethanol) แอลกอฮอล์ คืออะไร
“เอทิลแอลกอฮอล์” หรือ “เอทานอล” มีสูตรเคมีคือ C2H5OH เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ ไวไฟสูง สามารถละลายน้ำได้ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด แอลกอฮอล์ชนิดนี้กินได้ นิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า ไวน์ และเบียร์ ยาสำหรับเช็ดทำความสะอาดแผล ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
ความเป็นพิษต่อร่างกาย คือ โรคพิษสุราเรื้อรังและตับอักเสบ เป็นอาการพิษของผู้เสพสุราเป็นระยะเวลานาน นั่นคือ อาการพิษเรื้อรังที่เกิดจากเอทานอล แต่พิษเฉียบพลันที่เกิดจากการกินเข้าไปมาก ๆ ในครั้งเดียวก็คืออาการเมานั่นเอง แต่ทั้งนี้แม้ว่าเอทานอลจะกินได้ ก็ใช่ว่าจะนำเอทานอลในน้ำยาล้างแผลมาดื่มแทนเหล้าได้ เพราะในน้ำยาล้างแผลจะมีการใส่สีไว้เพื่อป้องกันการนำไปรับประทาน
เอทานอลเป็นพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)
ผลิตได้จากวัตถุดิบทางการเกษตรซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประภท
วัตถุดิบประเภทน้ำตาล : ได้แก่ น้ำอ้อย น้ำตาลจากบีท และกากน้ำตาลซึ่งยีสต์สามารถ ย่อยสลายวัตถุดิบประเภทนี้ได้เลยทันทีโดยไม่ต้องผ่านการย่อยเพื่อเป็นน้ำตาล (Pretreatment)
วัตถุดิบประเภทแป้ง : ได้แก่ มันสำปะหลัง ธัญพืชและมันฝรั่งในการผลิตจะต้องย่อยแป้งในวัตถุดิบให้เป็นน้ำตาลกลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดียวเสียก่อนยีสต์จึงจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นเอทานอลได้
วัตถุดิบประเภทที่เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตร : เช่น กากอ้อย ฟางข้าวซังข้าวโพด และของเสียจากอุตสาหกรรม เยื่อกระดาษ ฯลฯ
เอทานอลมีค่าออกเทนสูงนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินเรียกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ ถ้าผสมกับน้ำมันดีเซล เรียกว่าน้ำมันดีโซฮอล์ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
เอทานอลกินได้ไหม?
เอทานอลกินได้หรือไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับเกรดของสินค้า โดยตัวเอทิลแอลกอฮอล์(เอทานอล) ที่ไม่มีสารเจือปนที่เป็นอันตราย เช่น เมทิลแอลกอฮอล์ และถูกระบุว่าเป็น food grade สามารถในไปใช้ประกอบอาหารได้ ทั้งนี้ต้องระวังเอทานอลที่ความเข้มข้นสูงร่างกายก็ไม่สามารถรับได้ ทำให้ถึงตายได้
ถ้าไม่ได้เป็น food grade อาจจะมีสารเจือปนที่เป็นอันตรายผสมอยู่ อีกทั้ง ในบางครั้งยังมีการใส่รสชาติขมป้องกันการใช้ผิดประเภทตามกฏหมาย แม้ว่าจะไม่มีสารเจือปนที่เป็นอันนตรายอยู่ ทำให้กินไม่ได้
ดังนั้นต้องระวังอย่างมาก อย่านำไปประกอบอาหารโดยไม่แน่ใจ อาจทำให้ถึงตายได้
เอทานอล แบ่งเป็น 2 ประเภทกว้างๆ
1. Anhydrous Ethanol (เอทานอลแบบแห้ง) คือ เอทานอลที่ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยมีความบริสุทธิ์ตั้งแต่ 99% ขึ้นไปสามารถนำไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับรถยนต์ได้
Denatured anhydrous ethanol เอทานอลที่เติมสารแปรสภาพลงไปเพื่อให้เอทานอลนั้นไม่สามารถกินได้
Indentured anhydrous Ethanol เอทานอลบริสุทธิ์ที่ไม่มีสิ่งเจือปนลงไป สามารถใช้กินได้
2. Hydrous Ethanol (เอทานอลแบบเปียก) คือ เอทานอลที่ผ่านการหมักและกลั่นโดยยังไม่ผ่านกระบวนการแยกน้ำ มีน้ำผสมมากกว่า 5% ขึ้นไป ใช้เป็นเชื้อเพลิงแอลกอฮอล์ได้
สำหรับผู้ผลิตเจลล้างมือ หรือบุคคลทั่วไปส่วนมากจะใช้เป็น hydrous ethanol เนื่องจากต้องนำเอทานอลมาเติมน้ำให้ได้ 70% อยู่ดี จึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องผ่านกระบวนการแยกน้ำออก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายสูง
เอทานอล มีประโยชน์อย่างไร นำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
เอทานอล แอลกอฮอล์ สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของสินค้าหลากหลายชนิด ดังนี้
ใช้เป็นสารตั้งต้นหรือตัวทำละลาย เช่น การผลิตเครื่องสำอาง ยา น้ำหอม สบู่ เป็นต้น
ใช้ผสมในเชื้อเพลิงเพื่อเพิ่มค่าออกเทน และลดปริมาณเชื้อเพลิงบางชนิด เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์
เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ
ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อหรือล้างแผล เช่น แอลกอฮอล์ 75%
ใช้สำหรับการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อในส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อ
ใช้เป็นตัวทำละลายทั้งทางด้านอุตสาหกรรมและทางเภสัชกรรม เช่น เป็นตัวทำละลายในยาแก้ไอ
ขอบคุณสาระดีๆจาก : etohcols
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ความรู้เกี่ยวกับหนู
ความรู้เกี่ยวกับหนู
หนู เป็นสัตว์ฟันแทะประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม มีลักษณะเด่นชัดคือมีฟันคู่หน้าทั้งบนและล่าง 2 คู่ ที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษและคมมีลักษณะโค้งยื่น เพื่อใช้สำหรับกัดหรือแทะสิ่งต่างๆ เพื่อให้ฟันหน้าซึ่งสามารถเจริญยาวได้ตลอดชีวิตของมัน มีขนาดสั้นพอเหมาะและคมอยู่เสมอหนู มีความสำคัญ ทั้งทางด้านสาธารณสุข และการเกษตรทั้งนี้ เพราะหนูเป็นสัตว์แทะ ที่มีคุณสมบัติ ทางด้านชีววิทยาในการแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมสภาพต่างๆ ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี ลักษณะนิสัยของ หนู ชอบการกัดทำลายวัสดุ สิ่งของเครื่องใช้และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นประจำ เช่น ตู้ โต๊ะ เพดานบ้าน สายไฟ สายโทรศัพท์ สายคอมพิวเตอร์ ท่อน้ำ ผ้าม่าน สบู่ เครื่องประดับต่างๆ ตามถนน คันคูน้ำ คันนา หนู ก็จะขุดรูอาศัย เป็นผลให้เกิดการชำรุดเสียหายจนใช้การไม่ได้ ทำให้ต้องเสียเงินซ่อมแซมอยู่เสมอ
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตหนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความสามารถในการผสมพันธุ์ และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก จากการศึกษาสำรวจพบว่า พวกหนูนอร์เว และหนูท้องขาวสามารถมีลูกได้ครั้งแรกอายุประมาณ 3 – 5 เดือน เมื่อผสมแล้วจะตั้งท้องเพียง 21 – 22 วัน สำหรับหนูมีลูกติดๆ กันไม่หยุดในท้องหลังๆ อาจตั้งท้องนาน 23 – 29 วัน ส่วนในหนูหริ่งนั้น หลังผสมพันธุ์อาจตั้งท้องประมาณ 19 วัน ภายใน 48 ชั่วโมง หลังคลอด ความยืนยาวของชีวิตหนูแต่ละชนิดไม่เท่ากน แต่ไม่แตกต่างกันมากนักเช่น หนูท้องขาวอาจจะมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี
ในประเทศไทยหนูที่พบในเขตเมืองหรือแหล่งชุมชนต่างๆดังนี้
เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในสกุลนี้มีน้ำหนักตัวประมาณ 200-500 กรัม กินอาหารได้ทุกประเภท หากมีอาหารสมบูรณ์จะทำให้หนูชนิดนี้มีขนาดลำตัวใกล้เคียงหนูพุก หนูชนิดนี้ชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำและมีชื่อเรียกขานหลายชื่อตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งที่ออกหากินเช่น หนูท่อ หนูขยะ หนูท่าเรือและหนูเลาเป็นต้นปกติชอบขุดรูอาศัยในดินใกล้กองขยะใต้ถุนบ้านหรือสนามบ้านที่ปากรูมีขุยดินกองใหญ่คล้ายของหนูนาหรือพบอาศัยในท่อระบายน้ำในแหล่งชุมชนตามตลาดมีความยาวหัวรวมลำตัวประมาณ 233มิลลิเมตรหางสั้นกว่าความยาวหัวรวมลำตัวยาว 201 มิลลิเมตรและมี 2 สีด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่างหน้าจะป้านหรือทู่กว่าหนูท้องขาวบ้านมีตาและใบหูเล็กกว่าเช่นกันขนด้านท้องสีเทาด้านหลังขนสีน้ำตาลหรือสีดำตีนหลังใหญ่ขนาด 44 มิลลิเมตรและมีขนขาวตลอดเพศเมียมีเต้านม 3 คู่ที่อกและ 3 คู่ที่ท้องพบทั่วประเทศในเขตเทศบาลเมืองทุกแห่งอาจพบในพื้นที่ทำการเกษตรที่ติดต่อกับเขตชุมชนใหญ่ๆเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญหลายชนิดสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง พฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ของหนูนอร์เวเป็นแบบ pecking order โดยหนูเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงเป็นจ่าฝูงจึงเลือกที่อยู่และกินอาหารที่ดีที่สุดได้ก่อนและกำหนดเขตถิ่นอยู่อาศัยโดยใช้ปัสสาวะและไขมันจากขนในแต่ละกลุ่มจะมีหนูเพศเมียมากกว่า 1 ตัวลูกหนูและอาจมีหนูเพศผู้ตัวอื่นๆที่อ่อนแอกว่าเป็นหนูที่มีนิสัยดุร้ายและก้าวร้าวโดยเฉพาะเวลาที่แย่งถิ่นอาศัยอาหารและหนูเพศเมียปกติแล้วหนูที่โตเต็มที่จะกินอาหาร 20-30 กรัมต่อคืน (ประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว) และสามารถเดินทางในแต่ละคืนเป็นระยะทางไกล 2-3 กิโลเมตรเพื่อหาอาหาร
หนูชนิดนี้มีความหลากหลายในเรื่องของสีขนซึ่งขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่พบและมีชื่อเรียกต่างๆตามแหล่งที่อยู่อาศัยเช่นหนูหลังคาหนูเรือหนูบ้านและหนูสวนเป็นต้นตัวเต็มวัยมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง90-250 กรัมความยาวหัวรวมลำตัวเท่ากับ 182 มิลลิเมตรปกติสีขนด้านหลังเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองและกลางหลังมีขนแข็งสีดำแทรกอยู่ขนด้านท้องสีขาวครีมบางครั้งมีแถบขนสีน้ำตาลคล้ำยาวจากส่วนคอถึงกลางอกขนบริเวณตีนหลังส่วนใหญ่ยาวและมีขนดำแทรกปะปนบ้างหางสีดำตลอดมีเกล็ดละเอียดเล็กๆและยาวมากกว่าความยาวหัวรวมลำตัวยาว 188 มิลลิเมตรจมูกแหลมจึงทำให้หน้าค่อนข้างแหลมด้วยใบหูใหญ่ตาโตเพศเมียมีเต้านม 2 คู่ที่อกและ 3 คู่ที่ท้อง (ในบางแห่งเพศเมียมีเต้านม 3 คู่แต่คู่ที่ 3 อยู่ชิดกับคู่ที่ 2หรือห่างกันน้อยกว่า 1 เซนติเมตร) ปีนป่ายเก่งมากพบได้ทั่วประเทศตามเพดานของอาคารบ้านเรือนยุ้งฉางนาข้าวในสวนผลไม้มะพร้าวปาล์มน้ำมันเป็นต้นปกติไม่ชอบขุดรูอาศัยในดินมักอาศัยอยู่บนต้นไม้บนที่สูงหรือใต้หลังคาในห้องต่างๆของอาคารแต่ถ้าขุดรูมักไม่พบขุยดินบริเวณปากรูทางเข้าหรือมีขุยดินน้อยมากชอบกินผลไม้ผักและเมล็ดพืชมากกว่าเนื้อสัตว์พฤติกรรมการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มพบในหนูชนิดนี้เช่นเดียวกันกับหนูนอร์เวแต่มีจำนวนสมาชิกน้อยกว่าจ่าฝูงมักเป็นเพศผู้หนูชนิดนี้มีรูปร่างที่เพรียวกว่าหนูนอร์เวและชอบอาศัยอยู่ในที่สูงเช่นใต้หลังคาบ้านตามขื่อและคานของโรงเก็บอาหารสำเร็จรูปต่างๆบนต้นไม้เป็นต้นในขณะที่หนูนอร์เวชอบอาศัยใต้อาคารหรือขุดรูอยู่บริเวณนอกบ้านหนูชนิดนี้มีความดุร้ายก้าวร้าวน้อยกว่าหนูนอร์เวปกติแล้วมักละการต่อสู้ด้วยการวิ่งหนีจากไปหรือย้ายแหล่งที่อยู่
เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลRattus มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 27-60 กรัมความยาวหัวรวมลำตัวเท่ากับ 115 มิลลิเมตรตาโตใบหูใหญ่ตีนหลังยาว 23 มิลลิเมตรหางยาวกว่าความยาวหัวรวมลำตัวมากยาว 128 มิลลิเมตรและมีสีเดียวตลอดขนด้านหลังมีสีน้ำตาลแก่ขนด้านท้องสีเทาเพศเมียมีเต้านม 2 คู่ที่อกและ 2 คู่ที่ท้องหนูชนิดนี้ปีนป่ายได้ดีและว่องไวมากชอบอาศัยในที่แห้งตามบ้านเรือนโดยเฉพาะในห้องครัวห้องเก็บของตู้ลิ้นชักและยุ้งฉางทั่วประเทศกรณีที่พบในหมู่บ้านที่ติดกับพื้นที่ทำการเกษตรอาจพบหนูจี๊ดทำลายพืชในไร่นาสวนมะพร้าวสวนผลไม้แปลงถั่วต่างๆเช่นถั่วมะคาเดเมียฯลฯเช่นเดียวกันกับหนูนอร์เวหนูชนิดนี้กินอาหารได้เกือบทุกประเภท
ในประเทศไทยหนูชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าหนูหริ่งบ้านที่พบในยุโรปแต่สีขนคล้ายกันคือสีขนด้านบนและด้านท้องคล้ำขนบนหลังเท้าดำยกเว้นปลายเล็บเท้าขาวสีหางมีสีเดียวฟันเล็กหน้าสั้นมีน้ำหนักตัวประมาณ 12 กรัมความยาวหัวรวมลำตัว 74 มิลลิเมตรหางยาว 79 มิลลิเมตรตีนหลังยาว16 มิลลิเมตรใบหูยาว 12 มิลลิเมตรเพศเมียมีเต้านม 3 คู่ที่อกและ 2 คู่ที่ท้องเป็นหนูที่ตกใจได้ง่ายและออกอาหารในเวลากลางคืนเช่นกันชอบอาศัยในที่มืดตามลิ้นชักตู้หรือตามท่อเสาที่มีรูเปิดและไม่กลัวสิ่งใหม่ๆเมื่อสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงหนูชนิดนี้จะออกสำรวจสภาพแวดล้อมใหม่ทุกวัน
เรามารู้จักน้องหนูให้มากขึ้นกัน
ประสาทความรู้สึก
หนูทุกชนิดมีประสาทความรู้สึกไวมาก ทำให้ยากต่อการควบคุมกำจัดให้ได้ผล แต่ การทำให้หนูเข็ดขยาดจะเป็นทางที่จะช่วยให้หนูไม่มาใกล้บริเวณนั้นๆ
การสัมผัส
หนู มีเครา และขน ซึ่งมีความยาวกว่าขนธรรมดาและขึ้นกระจายอยู่ทั่วๆ ไปเป็นประสาทสัมผัสที่ดีมาก โดยในเวลากลางคืนที่มันวิ่งออกหากิน มันจะวิ่งไปตามทางข้างๆ ผนัง โดยมีเคราและขนดังกล่าว จะสัมผัสกับผนังเพื่อใช้ในการนำทาง
การมองเห็น
หนูมีระบบประสาทมองไม่ดี มองเห็นได้ไม่ไกลและตาบอดสี เห็นเฉพาะสีขาวดำ ฉะนั้นจึงมองเห็นในเวลากลางคืนดีกว่ากลางวัน
การรับรู้รส
การรู้รสของ หนูไม่ดีเท่าคน ไม่สามารถแยกรสชาติอาหารได้เท่าคน แต่มีบ่อยครั้งที่หนูมีการเข็ดเหยื่อเพราะหนูมีความฉลาดและระมัดระวังตัวดี กินอาหารอะไรที่ไม่คุ้นเคยมักกินแบบชิมๆ เมื่อได้รับยาเบื่อในขนาดไม่สูงพอที่จะให้หนูตาย เมื่อยาเบื่อเข้าไปในกระเพาะจะไปทำให้หนูเจ็บและเกิดการเรียนรู้และเข็ด เหยื่อ
การได้ยิน
หนูได้ยินเสียงในระยะเพียงประมาณ 6 นิ้วเท่านั้นการทรงตัวหนู ทุกชนิดมีการทรงตัวดีมากมาตั้งแต่กำเนิด ถึงแม้หนูที่ปีนป่ายที่สูงจะตกหล่นลงมายังพื้นไม่ว่าในลักษณะท่าใดเมื่อหล่น ถึงพื้น เท้าทั้งสี่ของหนูจะลงพื้นก่อนเสมอทำให้หนูไม่เป็นอันตรายและในท่าที่ลงพื้น นี้ หนูก็พร้อมที่จะวิ่งได้ต่อไปทันที
วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
โรคที่เกิดจากหนู
หนู เป็นสัตว์ที่สามารถแพร่พันธุ์ได้เร็ว และชอบอาศัยอยู่ในที่สกปรกซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค นอกจากจะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติแล้ว หนูยังปรับตัวและอาศัยอยู่ตามอาคารบ้านเรือนของมนุษย์ได้ ทำให้หนูสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคสู่คนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยหนูเป็นพาหะของโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคฉี่หนู โรคไข้หนูกัด และโรคติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งบางโรคอาจทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคฉี่หนู เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับคนและสัตว์ โดยมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นพาหะนำโรค เช่น วัว ควาย ม้า สุนัข และหนู โดยการแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ รวมทั้งการสัมผัสกับน้ำ ดิน หรืออาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ติดเชื้อ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะมีอาการป่วยแตกต่างกันไป เช่น มีไข้ ปวดหัว หนาวสั่น ปวดตามกล้ามเนื้อ อาเจียน ตัวเหลือง ตาแดง ปวดท้อง ท้องเสีย มีผื่นขึ้นตามร่างกาย และผู้ป่วยบางรายก็อาจไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏให้เห็น อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อจากโรคฉี่หนูที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจมีอาการรุนแรงขึ้นจนทำให้ตับและไตเกิดความเสียหาย ตับวาย หายใจลำบาก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคติดเชื้อไวรัสฮันตา (Hantavirus) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮันตาที่พบในสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก และกระต่าย เป็นต้น โดยมีอาการทั้งแบบรุนแรงและไม่รุนแรง หากมีอาการรุนแรง ผู้ติดเชื้ออาจมีกลุ่มอาการ Hantavirus Pulmonary Syndrome (HPS) โดยผู้ป่วยจะแสดงอาการในเวลา 1-2 สัปดาห์หลังสัมผัสเชื้อไวรัสจากปัสสาวะ อุจจาระ หรือน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ ในระยะแรกผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย มีไข้ และปวดตามกล้ามเนื้อ บางรายอาจปวดศีรษะ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้อง ต่อมาอาการจะกำเริบขึ้นจนทำให้หายใจไม่อิ่ม ไอ และเกิดภาวะน้ำในปอด นอกจากนี้ เชื้อไวรัสชนิดนี้อาจทำให้เกิดการป่วยรุนแรงที่จะเริ่มปรากฏอาการหลังได้รับเชื้อภายใน 1-2 สัปดาห์ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้อง มีไข้ ปัสสาวะผิดปกติ ตาแดง เป็นผื่นตามบริเวณต่าง ๆ และหากอาการรุนแรงมากอาจทำให้มีเลือดออกที่ไตหรือไตวายได้
โรคติดเชื้อซาลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไป โดยเชื้อซาลโมเนลโลซิสมักอาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอย่างหนู รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกด้วย เชื้อนี้จะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ ซึ่งผู้ป่วยมักติดเชื้อจากการรับประทานไข่ เนื้อสัตว์และสัตว์ปีกที่ปรุงไม่สุก หรือการดื่มน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวปนเปื้อนอยู่ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการของโรคออกมาให้เห็น แต่บางรายอาจมีไข้ ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น ปวดศีรษะ และอุจจาระเป็นเลือดภายใน 8-72 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อ แต่ผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงอาจหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา
โรคทูลารีเมีย (Tularemia) หรือโรคไข้กระต่าย เป็นโรคติดต่อที่พบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียฟรานซิสเซลล่า ทูลาเรนซิส (Francisella Tularensis) ที่มักพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระต่าย กระรอก และอาจพบในสัตว์ชนิดอื่น เช่น แกะ สุนัข แมว โดยแบคทีเรียชนิดนี้สามารถติดต่อสู่คนได้จากการถูกหมัดหรือเห็บกัด และการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวโดยตรง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีไข้อย่างเฉียบพลันหลังได้รับเชื้อประมาณ 3-5 วัน นอกจากนี้ อาจมีอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต และมีแผลจากการถูกสัตว์ที่ติดเชื้อกัด อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะแต่เนิ่น ๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคทูลารีเมียได้ดีขึ้น
โรคไข้หนูกัด เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่พบได้น้อยมาก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตบาซิลลัส โนนิลิฟอร์มิส (Streptobacillus Moniliformis) และสไปริลลัม ไมนัส (Spirillum Minus) ซึ่งพบได้มากในประเทศแถบทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยมีสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก เพียงพอน (Weasel) และเฟอร์เร็ท (Ferret) เป็นพาหะของโรค การแพร่เชื้อสู่คนอาจเกิดจากการถูกสัตว์เหล่านี้กัด ขีดข่วน หรือสัมผัสกับปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่งจากปาก ตา และจมูกของสัตว์ที่ป่วย โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคไข้หนูกัดที่ติดเชื้อสเตรปโตบาซิลลัส โนนิลิฟอร์มิส จะมีระยะฟักตัวของโรคน้อยกว่า 7 วัน และมีอาการ เช่น มีไข้ มีผดผื่นขึ้นตามร่างกาย และข้ออักเสบ ส่วนผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียสไปริลลัม ไมนัส จะมีระยะฟักตัวของโรคนาน 14-18 วัน โดยจะมีไข้ มีแผลเปื่อยที่เกิดจากรอยกัดของหนู และต่อมน้ำเหลืองโต
กาฬโรค เป็นโรคระบาดรุนแรงที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) ที่มักอาศัยอยู่ในหมัดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก เช่น หนูและกระรอก ผู้ป่วยมักได้รับเชื้อจากการถูกหมัดที่มีเชื้อกาฬโรคกัด หรือการสัมผัสของเหลวและวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ นอกจากนี้ ยังสามารถติดเชื้อได้จากการหายใจเอาอากาศที่มีละอองเสมหะจากผู้ป่วยโรคนี้เข้าไป โดยผู้ป่วยกาฬโรคมักแสดงอาการหลังได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1-7 วัน ซึ่งในระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้อย่างกะทันหัน หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย คลื่นไส้ และอาเจียน อย่างไรก็ตาม มีรายงานการเสียชีวิตของผู้ป่วยกาฬโรคในประเทศไทยครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 และยังไม่พบรายงานการเกิดกาฬโรคอีกจนถึงปัจจุบัน
การกำจัดหนู และควบคุมการแพร่เชื้อ
เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากหนู ควรรักษาสุขอนามัยของตนเอง ดูแลสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้ดี ลดการแพร่พันธุ์และกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู เช่น บริโภคอาหารที่สะอาดและปรุงสุกอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับหนูหรือสัตว์ตระกูลฟันแทะ ปิดช่องทางการเข้าออกไม่ให้หนูเข้าสุู่อาคาร ที่พักอาศัย และสถานที่ทำงานด้วยการใช้หน้าต่างประตูมุ้งลวดหรือตะแกรงดักบริเวณท่อระบายน้ำ หรือ ใช้สมุนไพรขับไล่เพื่อ เป็นการไม่ทำร้ายหนูและดูแลที่อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก POBPAD
-
ประสาทความรู้สึก หนูทุกชนิดมีประสาทความรู้สึกไวมาก ทำให้ยากต่อการควบคุมกำจัดให้ได้ผล แต่ การทำให้หนูเข็ดขยาดจะเป็นทางที่จะช่วยให้หนูไม่มาใก...
-
หนู พาหะนำโรค หนู เป็นสัตว์ที่สามารถแพร่พันธุ์ได้เร็ว และชอบอาศัยอยู่ในที่สกปรกซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค นอกจากจะอาศัยอยู่ตา...