วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2567

เอทานอล Ethanol





เอทานอล (Ethanol) แอลกอฮอล์ คืออะไร


 “เอทิลแอลกอฮอล์” หรือ “เอทานอล” มีสูตรเคมีคือ C2H5OH เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ ไวไฟสูง สามารถละลายน้ำได้ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด แอลกอฮอล์ชนิดนี้กินได้ นิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า ไวน์ และเบียร์ ยาสำหรับเช็ดทำความสะอาดแผล ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น


ความเป็นพิษต่อร่างกาย คือ โรคพิษสุราเรื้อรังและตับอักเสบ เป็นอาการพิษของผู้เสพสุราเป็นระยะเวลานาน นั่นคือ อาการพิษเรื้อรังที่เกิดจากเอทานอล แต่พิษเฉียบพลันที่เกิดจากการกินเข้าไปมาก ๆ ในครั้งเดียวก็คืออาการเมานั่นเอง แต่ทั้งนี้แม้ว่าเอทานอลจะกินได้ ก็ใช่ว่าจะนำเอทานอลในน้ำยาล้างแผลมาดื่มแทนเหล้าได้ เพราะในน้ำยาล้างแผลจะมีการใส่สีไว้เพื่อป้องกันการนำไปรับประทาน


เอทานอลเป็นพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)

ผลิตได้จากวัตถุดิบทางการเกษตรซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประภท

วัตถุดิบประเภทน้ำตาล : ได้แก่ น้ำอ้อย น้ำตาลจากบีท และกากน้ำตาลซึ่งยีสต์สามารถ ย่อยสลายวัตถุดิบประเภทนี้ได้เลยทันทีโดยไม่ต้องผ่านการย่อยเพื่อเป็นน้ำตาล (Pretreatment)

วัตถุดิบประเภทแป้ง : ได้แก่ มันสำปะหลัง ธัญพืชและมันฝรั่งในการผลิตจะต้องย่อยแป้งในวัตถุดิบให้เป็นน้ำตาลกลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดียวเสียก่อนยีสต์จึงจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นเอทานอลได้

วัตถุดิบประเภทที่เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตร : เช่น กากอ้อย ฟางข้าวซังข้าวโพด และของเสียจากอุตสาหกรรม เยื่อกระดาษ ฯลฯ

เอทานอลมีค่าออกเทนสูงนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินเรียกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ ถ้าผสมกับน้ำมันดีเซล เรียกว่าน้ำมันดีโซฮอล์ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

เอทานอลกินได้ไหม?

เอทานอลกินได้หรือไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับเกรดของสินค้า โดยตัวเอทิลแอลกอฮอล์(เอทานอล) ที่ไม่มีสารเจือปนที่เป็นอันตราย เช่น เมทิลแอลกอฮอล์ และถูกระบุว่าเป็น food grade สามารถในไปใช้ประกอบอาหารได้ ทั้งนี้ต้องระวังเอทานอลที่ความเข้มข้นสูงร่างกายก็ไม่สามารถรับได้ ทำให้ถึงตายได้


ถ้าไม่ได้เป็น food grade อาจจะมีสารเจือปนที่เป็นอันตรายผสมอยู่ อีกทั้ง ในบางครั้งยังมีการใส่รสชาติขมป้องกันการใช้ผิดประเภทตามกฏหมาย แม้ว่าจะไม่มีสารเจือปนที่เป็นอันนตรายอยู่ ทำให้กินไม่ได้


ดังนั้นต้องระวังอย่างมาก อย่านำไปประกอบอาหารโดยไม่แน่ใจ อาจทำให้ถึงตายได้


เอทานอล แบ่งเป็น 2 ประเภทกว้างๆ

1. Anhydrous Ethanol (เอทานอลแบบแห้ง) คือ เอทานอลที่ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยมีความบริสุทธิ์ตั้งแต่ 99% ขึ้นไปสามารถนำไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับรถยนต์ได้


Denatured anhydrous ethanol เอทานอลที่เติมสารแปรสภาพลงไปเพื่อให้เอทานอลนั้นไม่สามารถกินได้

Indentured anhydrous Ethanol เอทานอลบริสุทธิ์ที่ไม่มีสิ่งเจือปนลงไป สามารถใช้กินได้


2. Hydrous Ethanol (เอทานอลแบบเปียก) คือ เอทานอลที่ผ่านการหมักและกลั่นโดยยังไม่ผ่านกระบวนการแยกน้ำ มีน้ำผสมมากกว่า 5% ขึ้นไป ใช้เป็นเชื้อเพลิงแอลกอฮอล์ได้


สำหรับผู้ผลิตเจลล้างมือ หรือบุคคลทั่วไปส่วนมากจะใช้เป็น hydrous ethanol เนื่องจากต้องนำเอทานอลมาเติมน้ำให้ได้ 70% อยู่ดี จึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องผ่านกระบวนการแยกน้ำออก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายสูง


เอทานอล มีประโยชน์อย่างไร นำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

เอทานอล แอลกอฮอล์ สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของสินค้าหลากหลายชนิด ดังนี้

ใช้เป็นสารตั้งต้นหรือตัวทำละลาย เช่น การผลิตเครื่องสำอาง ยา น้ำหอม สบู่ เป็นต้น

ใช้ผสมในเชื้อเพลิงเพื่อเพิ่มค่าออกเทน และลดปริมาณเชื้อเพลิงบางชนิด เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์

เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ

ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อหรือล้างแผล เช่น แอลกอฮอล์ 75%

ใช้สำหรับการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อในส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อ

ใช้เป็นตัวทำละลายทั้งทางด้านอุตสาหกรรมและทางเภสัชกรรม เช่น เป็นตัวทำละลายในยาแก้ไอ



ขอบคุณสาระดีๆจาก : etohcols


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฺสเปรย์ไล่หนู